วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556

ซากดึกดำบรรพ์

ซากดึกดำบรรพ์ http://en.wikipedia.org/ - ซากดึกดำบรรพ์ คือ ซากของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่เคยอาศัยอยู่ในบริเวณนั้น เมือตายลงซากก็ถูกทับถมและฝังตัวอยู่ในชั้นหินตะกอน - ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี หมายถึง ซากดึกดำบรรพ์ที่บอกอายุได้แน่นอน เนื่องจากเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีวิวัฒนาการทางโครงสร้างและรูปร่างอย่างรวดเร็ว มีความแตกต่างในแต่ละช่วงอายุอย่างเห็นเด่นชัด - ซากดึกดำบรรพ์ส่วนใหญ่มักพบอยู่ในลักษณะ ปรากฏเป็นซากเดิมหรือโครงร่างส่วนที่แข็งที่อยู่ในหินตะกอน - ประเทศไทยมีการค้นพบซากไดโนเสาร์ครั้งแรกที่ อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่นคือ ไดโนเสาร์ประเภทเดินสี่เท้า กินพืชเป็นอาหาร คอและหางยาว - ซากไดโนเสาร์ที่พบส่วนมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในชั้นหินทรายแป้ง เป็นหินอยู่ในยุคไทรแอสสิกตอนปลายถึงยุคครีเตเชียสตอนกลาง - ซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นพืชที่เคยพบในไทยได้แก่ ใบไม้ ละอองเรณู สปอร์ สาหร่ายทะเลและไม้กลายเป็นหิน - ลักษณะของซากดึกดำบรรพ์ที่ปรากฏในปัจจุบันมีลักษณะหลายประการคือ 1. แข็งกลายเป็นหิน 2. อยู่ใสภาพแช่แข็ง 3. ถูกอัดในยางไม้หรืออำพัน http://en.wikipedia.org/ - หินที่สามารถเก็บรักษาซากดึกดำบรรพ์ได้ดีคือ หินตะกอน เนื่องจาก ซากดึกดำบรรพ์นั้นเกิดได้ยาก เนื่องจากในธรรมชาติวัตถุต่างๆ ย่อมเกิดการสลายตัวไปตามกาลเวลา การเกิดเป็นซากดึกดำบรรพ์ได้นั้นมักจะเกิดจากการที่ซากนั้นได้รับการปกป้องห่อหุ้มไปด้วยการทับถมของตะกอนต่างๆ ดังนั้นซากดึกดำบรรพ์จึงมักจะพบได้ในชั้นหินตะกอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น