วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556

การทำโครงงานวิทยาศาสตร์

การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ การทำโครงงาน มี 3 ขั้นตอน คือ 1. คิดและเลือกหัวเรื่องหรือปัญหาที่จะศึกษา 2. การวางแผนในการทำโครงงาน 3. การลงมือทำโครงงาน ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ 1. คิดและเลือกหัวเรื่องหรือปัญหาที่จะศึกษา เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดและยากที่สุดตามหลักการผู้ทำโครงงานจะต้องเป็นผู้คิด โดยเลือกหัวข้อตามความสนใจ ซึ่งอาจได้จากการอ่านหนังสือ เอกสารต่างๆ ไปทัศนศึกษานอกสถานที่ หรือฟังคำบรรยายเชิงวิชาการ โดยหัวข้อที่คิด จะต้องเหมาะสมกับระดับความรู้ความสามารถของผู้ทำโครงงาน 2. การวางแผนในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย 2.1 การกำหนดปัญหาหรือที่มา และความสำคัญของโครงงาน 2.2 กำหนดวัตถุประสงค์และสมมติฐานของการศึกษา เช่น ศึกษาปฏิกิริยาตอบสนองของปลา แสงสีต่างๆ หรือเพื่อศึกษาอวัยวะภายในของหนูที่มีผลมาจากใบกัญชา 2.3 กำหนดขอบเขตของการศึกษา โดยยึดหลักไม่เกินระดับความรู้ของนักเรียนมากนัก 2.4 การวางแผนวิธีการดำเนินงาน ได้แก่ แนวทางในการศึกษา ค้นคว้า วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น ออกแบบการทดลอง ควบคุมตัวแปร วิธีการสำรวจ และรวบรวมข้อมูล วิธีการประดิษฐ์ การวิเคราะห์ข้อมูล และการกำหนดระยะ เวลาในการทำงาน ในการวางแผนการทำโครงงานควรเขียนโครงร่าง หรือเค้าโครงร่าง หรือเค้าโครงงาน นำเสนออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอความคิดเห็น และคำปรึกษาว่าจะดำเนินการอย่างไร โดยที่เป็นขั้นตอน และไม่สับสน การเขียนและการจัดลำดับหัวข้อเค้าโครงของโครงงาน มีดังนี้ 1. ชื่อโครงงาน 2. ผู้จัดทำโครงงาน 3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน 4. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน 5. วัตถุประสงค์ของการศึกษา ค้นคว้า 6. สมมติฐานของการศึกษา ค้นคว้า (ในกรณีการตั้งสมมติฐานมักใช้กับ โครงงานประเภททดลองเท่านั้น) 7. วิธีการดำเนินการ 8. ประโยชน์หรือผลที่คาดว่าจะได้รับ 9. เอกสารอ้างอิง 3. การลงมือทำโครงงาน คือการปฎิบัติตามขั้นตอนที่ 2 ที่ได้วางแผนไว้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมบ้างก็ได้สำหรับโครงงานประเภท ทดลอง ควรมีการตรวจผลการทดลอง ด้วยการลองทำการทดลองซ้ำเพื่อให้ได้ผลที่แน่นอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น