วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556

แผ่นดินไหว

แผ่นดินไหว http://dvice.com - เกิดจากการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกตามแนวรอยต่อของแผ่นธรณีภาค จนชั้นหินแตกหัก/เลื่อนตัวแล้วถ่ายโอนพลังงานศักย์ให้ชั้นหินอื่นที่ติดกันในรูปของคลื่นไหวสะเทือน - ตำแหน่งของจุดกำเนิดแผ่นดินไหว เรียกว่า ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว ส่วนตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวเรียกว่า จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว - เครื่องตรวจวัดและบันทึกการเกิดแผ่นดินไหวเรียกว่า ไซสโมกราฟ ทำงานโดยรับคลื่นไหวสะเทือนแล้วแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหว คือบริเวณรอยต่อของแผ่นธรณีภาค แนวรอยรอยต่อที่สำคัญ มี 3 แนวคือ 1. แนวรอยต่อล้อมรอบมหาสมุทรแปซิฟิก จัดว่าเป็นบริเวณที่เกิดค่อนข้างรุนแรงและมากที่สุด (80 %ของการเกิดแผ่นดินไหนทั่วโลก) 2. แนวรอยต่อภูเขาแอลป์ในยุโรปและหิมาลัยในเอเชีย (15 %) 3. แนวรอยต่อบริเวณแนวสันกลางมหาสมุทรต่างๆ (5%) เช่น เทือกเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย และ อาร์กติก ขนาดและความรุนแรง - คนแรกที่คิดค้นสูตรการวัดขนาดของแผ่นดินไหว คือ นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ชาร์ล เอฟ ริกเตอร์ - 1 - 2 ริกเตอร์ จัดเป็นแผ่นดินไหนขนาดเล็ก - 2.1 – 6.2 ริกเตอร์ จัดเป็นแผ่นดินไหวขนาดปานกลาง - 6.3 ริกเตอร์ขึ้นไป จัดเป็นแผ่นดินไหวขนาดรุนแรง ประเทศไทยไม่ได้อยู่ในเขตแผ่นดินไหว โอกาสเกิดน้อย แต่บริเวณที่อาจรู้สึกได้ถึงแรงสั่นสะเทือน เช่น ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันตก และกรุงเทพฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น